top of page
สิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล
สัตว์ทะเล
ฟองน้ำทะเล
ฟองน้ำฟองน้ำเป็นสัตว์ทะเลประเภทหนึ่งมีเซลล์จัดเรียงตัวกันอย่างหลวมๆสองชั้น รูปร่างมีความต่างกันมาก บางชนิดแผ่คลุมไปบนพื้นหินและซอกปะการัง บางชนิดเป็นรูปเจกันคล้ายครก ขนาดของฟองน้ำมีความแตกต่างกัน บางชนิดเล็กประมาณ 1 เซนติเมตร จนถึงขนาดใหญ่กว่า 1 เซนติเมตร อาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่มีพื้นสภาพต่างกัน
ขนนกทะเล
ขนนกทะเลจัดอยู่ในกลุ่มซีเลนเตอเรทพวกไฮโตรซัวอาศัยอยู่รวมเป็นโคโลนีที่แตกกิ่งก้านคล้ายกิ่งไม้เล็กๆหรือแตกแขนงคล้ายขนนกตัวขนนกทะเลแต่ละตัวเป็นโพลิปขนาดเล็ก โพลิปจะกินอาหารจำพวกแพลงตอนขนาดเล็กหรืออินทรียวัตถุที่ล่องลอยอยู่ในทะเล ขนาดของขนนกมีความแตกต่างกัน ส่วนใหญ่โคโลนีที่คล้ายกิ่งไม้มีความสูงประมาณ 30 เซนติเมตร อาศัยเกาะอยู่ตามปะการังต่างๆ ขนนกทะเลเป็นสัตว์มีพิษหากสัมผัสกับผิวหนังของเรา จะทำให้เกิดรอยไหม้เป็นผื่นคัน เนื่องจากเข็มพิษจากโพลิปของขนนกทะเลมีน้ำพิษอยู่ด้วย (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
ปะการังไฟ
ปะการังไฟเป็นไฮโครซัวชนิดหนึ่งพวกเดียวกับขนนกทะเลและสร้างฐานรองรับเป็นหินปูนแข็งและสร้างฐานรองรับโพลิปเป็นหินปูนแข็ง ตัวโพลิปปะการังไฟมีรูปร่างสองแบบ แบบหนึ่งหนึ่งทำหน้าที่จับเหยื่อกินอาหารและมีหนวดเรียกว่าแดดทิลโลซูออยด์ และอีกแบบที่ไม่มีหนวด มีหน้าที่รับความรู้สึกสัมผัสและสร้างเข็มพิษ ใช้สำหรับฆ่าเหยื่อหรือป้องกันตัว โพลิปแบบนี้เรียกว่าแดดซิลโซลูออยด์ เมื่อเราไปสัมผัสปะการังไฟ น้ำพิษจากเข็มพิษจึงทำให้เกิดอาการคันได้
แมงกระพรุน
แมงกะพรุนทั่วโลกมีอยู่ 200 ชนิด เป็นสัตว์มีโพรงในลำตัว ร่างกายประกอบไปด้วยน้ำส่วนใหญ่ ลักษณะคล้ายก้อนวุ้นเคลื่อนที่ได้ แต่การว่ายน้ำแบบเคลื่อนที่ของแมลงกระพรุนเป็นไปอย่างเชื่อช้าและว่ายไปตามกระแสน้ำสุดแต่คลื่นลมจะพาไป แมงกะพรุนถูกจัดเป็นแพลงตอนชนิดหนึ่งและนับเป็นแพลงตอนขนาดใหญ่ บางตัวมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 40 เซนติเมตร การที่แมงกะพรุนดำรงชีวิตเป็นแพลงตอนและล่องลอยไปตามคลื่นลมนี้เอง ช่วงฤดูร้อนที่มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าสู่ภาคตะวันออกของอ่าวไทย จึงมีแมงกะพรุนชุกชุมอยู่ตามชายทะเลแถบภาคตะวันออกดังนั้นการเล่นน้ำตามสถานตากอากาศแถบบางแสน พัทยา ระยอง จึงอาจถูกแมงกะพรุนไฟได้ รูปร่างแมงกะพรุนมีลักษณะคล้ายร่ม ทางด้านนอกของร่มเป็นรูปโค้งผิวเรียบ ด้านใต้มีปากอยู่ตรงกลางและมีส่วนยื่นรอบปากออกไป แมงกะพรุนทุกชนิดมีพิษพบมากบริเวณหนวดและส่วนยื่นรอบปาก
ดอกไม้ทะเล
ดอกๆไม้ทะเลจะมีรูปร่างเป็นทรงกระบอก มีหนวดจำนวนมากเรียงรายกันอยู่ด้านบน ส่วนทางด้านล่างเป็นฐานใช้ยึดเกาะติดกับวัตถุใต้น้ำ ขนาดของดอกไม้ทะเลแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันตั้งแต่ตัวเล็กกว่า 1 เซนติเมตร จนถึงขนาดใหญ่กว่าครึ่งเมตร อาหารของดอกไม้ทะเลได้แก่ ปลาหรือสัตว์ทะเลชนิดอื่นที่ว่ายเข้ามาในระยะที่หนวดจับได้ ดอกไม้ทะเลจะปล่อยนีมาโตซีสออกมาทำให้เหยื่อสลบ แล้วรวบเข้าปากที่อยู่ตรงกลาง ดอกไม้ทะเลนั้นจะมีถิ่นที่อยู่อาศัยแตกต่างกัน บางชนิดที่อยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลงจะมีความทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ดีทั้งในด้านการเปลี่ยนแปลงความชื้น ความเค็มและอุณหภูมิรวมทั้งความสามารถในการอยู่บนบกได้เป็นระยะเวลานานหลายชั่วโมงขณะที่น้ำทะเลลดลงด้วย เราจึงมักพบดอกไม้ทะเลเกาะอยู่ตามก้อนหินริมชายฝั่งโดยหดตัวเป็นก้อนกลม เพื่อรอให้น้ำทะเลท่วมบริเวณที่อาศัยอยู่อีกครั้งหนึ่ง
ปากกาทะเล
มีลักษณะใกล้เคียงกับปะการังอ่อน ปากกาทะเลทุกชนิดอาศัยอยู่รวมกันเป็นโคโลนีเช่นเดียวกับกัลปังหาและปะการังอ่อน ด้านล่างเป็นด้ามใช้สำหรับฝังลงในพื้นทะเลที่เป็นดินโคลน หรือโคลนปนทราย ส่วนบนที่อยู่ของโพลิบรูปร่างเป็นทรงกระบอก สามารถยืดหดตัวจากเนื้อเยื่อของโคโลนีเพื่อจับเหยื่อ แต่ละโคโลนีมีโพลิปหรือตัวปากกาทะเลนับร้อยตัว
ลิ่นทะเล
ลิ่นทะเลเรียกอีกอย่างว่า “หอยแปดเกล็ด” จัดเป็นสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนิ่มหรือมอลลัสเช่นเดียวกับหอยและหมึกทั่วไป รูปร่างคล้ายกับทากดิน ไม่มีส่วนหัวและห่างที่ชัดเจนลำตัวเป็นรูปไข่ ด้านบนโค้งนู้น และมีเปลือกคล้ายเกล็ดจำนวน 8 แผ่นเรียงซ้อนกันจากด้านหน้าไปยังด้านท้ายคล้ายกระเบื้องมุงหลังคายกเว้นบางชนิดเกล็ดอาจเรียงต่อกันเป็นแถวๆรอบๆเกล็ดเป็นแมนเทิลที่ปกคลุมด้วยหนามสั้นๆ ด้านล่างตรงกลางมีกล้ามเนื้อเท้ารูปไข่เป็นพื้นแบนเรียบช่วยในการเคลื่อนที่ ปากของลิ่นทะเลอยู่ด้านหน้า ภายในปากมีแผ่นลิ้นใช้ในการขูดสาหร่าย ไลเคนซ์กินอาหาร ที่อยู่ของลิ่นทะเลสามารถพบได้ตามโขดหินริมชายฝั่งทะเลและรอบเกาะ (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
ทากทะเล
ทากทะเลเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกหอยกาบเดียวมีรูปร่างลีสันที่แปลกตา จึงได้รับสมญานามว่า ราชินีแห่งท้องทะเล ทากทะลอาศัยอยู่ตามแนวปะการังที่มีฟองน้ำหรือสาหร่ายทะเลชุกชุม เพราะฟองน้ำเป็นอาหารที่ทากชอบกิน ทากชอบกินอาหารที่มีรสและกลิ่นที่ไม่ค่อยเหมือนสัตว์อื่น ทากทะเลสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศบางชนิดมีทั้งเพศเดียวกันในตัวเดียวกัน บางชนิดแยกเพศ (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
หอยฟองน้ำ
หอยฟองน้ำหรือที่เรียกทั่วไปว่าหอยม่วง จัดอยู่ในกลุ่มหอยกาบเดี่ยว รูปร่างคล้ายหอยโข่ง มีเปลืองม่วงขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร เป็นหอยที่สร้างฟองอากาศเป็นทุ่นลอยตัวไปตามผิวทะเลและจัดเป็นแพลงตอนชนิดหนึ่ง เมื่อถูกคลื่นลมพัดเข้าสู่ชายฝั่ง จึงถูกซัดขึ้นมาเกยแห้งอยู่บริเวณริมหาด พบอยู่ทั่วไปตามทะเลเขตร้อน หอยฟองน้ำเป็นสั่ตว์กินเนื้อ ขณะที่ล่องลอยไปตามผิวทะเลจะจับแพลงตอนสัตว์อื่นๆกินเป็นอาหาร เช่นแมงกระพรุนเหรียญ (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
หอยเต้าปูน
หอยเต้าปูนหรือหอยมรณะ มีลักษณะเป็นรูปกรวย คล้ายถ้วยไอติมโคลนเปลือกมักหนาและหนัก หอยชนิดนี้ชอบล่าสัตว์กินเป็นอาหาร โดยอาศัยพิษจากภายในลำตัวฆ่าเหย่อให้ตายก่อนจับกินเป็นอาหาร พิษของหอยเต้าปูนเป็นสารประกอบจำพวกโปรตีนในถุงน้ำพิษ บีบตัวส่งไปทางท่อน้ำพิษผ่านไปยังคอหอยซึ่งมีแผงฟัน ทำให้น้ำพิษเคลือบเข็มพิษซึ่งจะพุ่งออกไปคล้ายฉมวก หอยเต้าปูนมีมากกว่า 400 ชนิดทั่วโลก พบอาศัยอยู่ในมหาสมุทรต่างๆ โดยเฉพาะเขตอินโดแปซิฟิกรวมทั้งในน่านน้ำไทยด้วย หอยเต้าปูนที่มีพิษได้แก่ หอยเต้าปูนลายผ้า หอยเต้าปูนลายแผนที่ หอยเต้าปูนลายหินอ่อนเป็นต้น (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
หอยแต่งตัว
หอยแต่งตัวเป็นหอยกาบเดียวรูปฝาชี มียอดเป็นมุมป้าน รูปร่างคล้ายหมวกเวียดนาม จัดอยู่ในวงเดียวกับหอยหมวก เปลือกมักมีสีครีมและสีเหลืองอ่อน และมีเปลือกหอยชนิดอื่นติดไว้ตามเปลือกของตัวเอง พฤติกรรมนี้เป็นการกระทำเพื่อปรับตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่หอยชนิดนี้อาศัยอยู่ตามแนวปะการังที่มีเศษวัสดุจำวกเปลือกหอยหรือซากปะการังกองทับถมกันอยู่ หอยแต่งตัวพบใกล้ชายฝั่งบริเวณแนวปะการังมีอยู่ไม่มากนัก (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
หอยมือเสือ
หอยมือเสือเป็นหอยสองกาบเปลือกด้านนอกมีลักษณะเป็นลอนคล้ายกระเบื้องลูกฟูกและมีเกร็ดเป็นแผ่นครึงวงกลมเรียงซ้อนกัน เปลือกทั้งสองยึดติดกันไว้ด้วยบานพับและเอ็น โดยมีช่องให้มัดกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ยื่นออกมายึดเกาะกับหินปะการังเอาไว้ หอยมือเสือที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติจะอ้ากากออก ทำให้เห็นแมนเทิลเป็นสีเขียวปนน้ำเงินปนเขียวหรือเหลืองเป็นลวดลายต่างๆในแมนเทิลเป็นที่อยู่ของสาหร่าย หอยมือเสือส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามแนวปะการังของไทย (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
ดาวทะเล
ดาวทะเลเป็นสัตว์มีหนาม ร่างกายจะประอบไปด้วยแผ่นกลางลำตัวและแขนที่ยืนออกไปจากส่วนกลางเป็นรัศมี จำนวนแขนของดาวทะเลส่วนใหญ่มี 5 แฉก น้อยมากที่จะพบ 8 แฉก ตามผิวของลำตัวจะมีหนามขนาดเล็กใหญ่ต่างกัน มีปากอยู่ตรงกลางด้านล่าง ดาวทะเลเคลื่อนที่โดยอาศัยท่อน้ำทำให้เกิดแรงดันเข้าไปในเท้าท่อ ระบบท่อน้ำประกอบไปด้วยท่อตะแกรงอยู่บนแผ่นกลางตัวระหว่างแขนคู่หนึ่ง
ดาวขนนก
ดาวขนขนมีรูปร่างที่คล้ายกับต้นปรง ร่างกายประกอบด้วยแผ่นกลางตัวขนาดเล็กและมีแขนยื่นยาวออกไปโดยรอบ แต่ละแขนจะมีแขนงแยกออกไปคล้ายใบ ด้านล่างจะมีแขนงยื่นออกไปทำหน้าที่ยึดเกาะกับพื้นและจะเคลื่อนย้ายที่อยู่ในอย่างเชื่องช้า แต่ปกติมักจะอยู่กับที่ ดาวขนนกกินแพลงตอนและสารอินทรีย์ในน้ำทะเลเป็นอาหาร โดยการใช้แขนงบนแขนรวบรวมอาหารให้เคลื่อนที่จากร่องแขนลงสู่ปากที่อยู่ตรงกลางของแผ่นกลางตัว ส่วนใหญ่ดาวขนนกนั้นจะอาศัยอยู่ตามแถวแนวปะการัง โดยจะเกาะอยู่บนปะการัง บางครั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันหลายตัว (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
ปูเสฉวน
ปูเสฉวนเป็นสัตว์ที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างปูกับกุ้ง กระดองของปูเสฉวนนั้นจะมีความยาวมากกว่าความกว้าง ก้ามสองข้างไม่เท่ากัน ปูเสฉวนจะอาศัยอยู่ในเปลือกหอยขนาดที่พอเหมาะกับลำตัวได้แค่ชั่วเวลาหนึ่งเพราะลำตัวมันเติบโตขึ้น เมื่อตัวโตขึ้นก็ต้องเปลี่ยนเปลือกหอย ต้องหาเปลือกหอยหรือที่อยู่ใหม่ ปูเสฉวนเป็นสัตว์กินเนื้อหรือเศษอินทรีย์ตามพื้นทะเลที่อาศัยอยู่ แต่มันก็อาจตกเป็นเหยื่อของผู้ล่ารายอื่นในทะเลได้เช่นกัน (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
ปูแสม
ปูแสมมีกระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยม ปกคลุมด้วยขนสั้นอ่อนนุ่มกล้ามทั้งสองข้างมีขนาดใกล้เคียงกัน ปูแสมมักขุดรูอยู่อาศัยตาใต้รากโกงกางในบริเวณป่าชายเลน มักจะออกหากินในเวลากลางคืนอาหารที่กินส่วนใหญ่มักเป็นศากสัตว์และเศษอินทรีย์ตามพื้นดิน (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
ปลาฉลาม
ปลาฉลาม เป็นปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างโดยรวมเพรียวยาว มีซี่กรองเหงือก 5 ซี่ ครีบทุกครีบแหลมคม ครีบหางเป็นแฉกเว้าลึก มีจุดเด่นคือ ส่วนหัวและจะงอยปากแหลมยาว ปากเว้าคล้ายพระจันทร์เสี้ยวภายในมีฟันแหลมคม ปลาฉลามแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ ปลาฉลามหน้าดินและปลาฉลามกลางน้ำ ปลาฉลามหน้าดินมักเป็นฉลามที่เชื่องช้า ชอบหากินอยู่ตามพื้นทะเล ฉลามหน้าดินจะไม่ดุร้าย สัตว์ไม่กระดูกสั้นหลังเป็นอาหาร และออกลูกเป็นไข่ ส่วนปลาฉลามกลางน้ำเป็นปลาที่ว่ายน้ำอยู่ตลอด และมักดุร้าย ไล่ล่าปลาชนิดอื่นเป็นอาหาร และออกลูกเป็นตัว ปลาฉลามเป็นปลาที่ว่องไวปราดเปรียว บางชนิดว่ายน้ำได้เร็วมาก ปลาฉลามมีอวัยวะรับความรู้สึกอยู่สามแห่งคือ อวัยวะรับความรู้สึกทางกลิ่น อวัยวะรับสัมผัสทางการมองเห็น และสามคือการอาศัยเส้นข้างลำตัวทำหน้าที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับแรงสั้นสะเทือนของคลื่นใต้น้ำในระยะไกล (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
ปลากระเบนนก
ปลากระเบนนกเป็นปลากระเบนที่ค่อนข้างมีขนาดใหญ่ มีอยู่หลายชนิด จะใช้หางเสือว่ายน้ำไปทางทิศทางที่ต้องการ ปลากระเบนนกจะอาศัยอยู่ตาพื้นทะเล อาหารที่กินคือสัตว์ขนาดเล็กหรือพวกกุ้งเคย (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
ปลาไหลมอเล่ย์
ปลาไหลมอเล่ย์จัดอยู่ในประเภทที่ไม่มีครีบหู ตามผิวลำตัวไม่มีเกล็ด ผิวหนา มีฟันที่แหลมคม ปลาไหลมอเล่ย์ค่อนข้างดุหากถูกปุกรุกถึงถิ่นที่อยู่ หรือหากศัตรูเข้าใกล้อาจกัดเช่นเดียวกับงู (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
ม้าน้ำ
ม้าน้ำเป็นปลากระดูกแข็ง มีรูปร่างและพฤติกรรมการผสมพันธุ์ที่แปลกกว่าสัตว์ชนิดอื่น ม้าน้ำตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะต่างกันคือ ตัวผู้มีถุงหน้าท้องไว้ฟักไข่จนกระทั่งกลายเป็นตัว ทำหน้าที่คลอดลูกแทนม้าน้ำตัวเมีย ม้าน้ำจะชอบอาศัยอยู่ตามเสาโป๊ะ โพงพาง หรือหลาบอยู่ตามสาหร่ายทะเลที่ระดับน้ำไม่ลึกมาก คอยจับสัตว์เล็กๆกินเป็นอาหาร (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
ปลาการ์ตูน
ปลาการ์ตูนเป็นปลาขนาดเล็ก อาศัยอยู่ตามดอกไม้ทะเลแถวๆบริเวณปะการังฝั่งทะเลอันดามันปลาการ์ตูนจะมีอุปนิสัยที่เชื่องง่าย (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
ปลาสิงโต
ปลาสิงโตมีลำตัวป้อมสั้น ก้านครีบแข็งของปลาสิงโตทำหน้าที่ป้องกันตัว ใช้ทิ่มแทงศัตรูที่มารบกวน บางชนิดมีตอมน้ำพิษอยู่ด้วย จึงเป็นอันตรายมากหากถูกปลาชนิดนี้ตำ ปลาสิงโตจะอาศัยอยู่ตามแนวปะการัง จะว่ายน้ำอย่างเชื่องช้า หรือจะพักตัวอยู่กับก้อนหินหรือพวกปะการัง จะกินอาหารโดยจับเหยื่อกลืนเข้าไปทั้งตัว (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
ปลาหมอทะเล
ปลาหมอทะเลเป็นปลากะรังขนาดใหญ่เป็นสัตว์กินเนื้อ ชอบกินปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร แต่ไม่ดุร้าย มักอาศัยอยู่ตามซากโป๊ะ กองหินใต้น้ำ ว่ายน้ำไปมาอย่างเชื่องช้าหรือลอยตัวอยู่นิ่งๆ (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
ปลาปักเป้า
ปลาปักเป้าเป็นปลากระดูกแข็ง ลำตัวสั้นค่อนข้างกลม พิษของปักเป้าสะสมอยู่บริเวณอวัยวะภายในได้แก่ ลำไส้ ตับ ไต ถุงน้ำดี ไข่ และผิวหนัง (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
เต่าทะเล
เต่าทะเลเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่อยู่มานาน เต่าทะเลมีการปรับตัวหลายอย่างที่แตกต่างไปจากเต่าบนบก เต่าทะเลไม่มีฟันซี่มีแต่ขากรรไกร ใช้ขบกัดสัตว์มีเปลือกให้แตกเพื่อกินเป็นอาหาร (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
พะยูน
พะยูนหรือเงือกเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีลำตัวอ้วนกลมผิวเรียบสีเทาหือเทาดำ หัวมนไม่มีใบหูปากกว้าง มีประสาทเกี่ยวกับการรับฟังได้ดี ใต้ครีบหูมีเต้านมสองเต้า ครีบหางแบนขนานกับพื้น อาหารหลักของพะยูนคือ หญ้าทะเลและสาหร่ายทะเล ที่ขึ้นอยู่ริมชายฝั่งทะเลที่เป็นดินทรายปนโคลนออกหากินในเวลากลางวันและกลางคืน ส่วนมากพะยูนจะอาศัยอยู่ในบริเวณแหล่งที่มีหญ้าทะเล พะยูนออกลูกครั้งละ 1 ตัว พะยูนนั้นมีอยู่สองประเภทใหญ่ๆ คือดูกอง เป็นพะยูนพันธุ์ที่พบในทะเลเขตร้อน และมานาที พบแพร่กระจายอยู่บริเวณชายฝั่งและแม่น้ำของทวีปอัฟริกาตะวันตก 1 ชนิด และอีก 2 ชนิดพบทางตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้และทะเลคาริเบียน (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
ปลาสินสมุทร
ปลาสินสมุทรเป็นปลากระดูกแข็งในกลุ่มคลาสปลาหางแฉก-หางพัด ปลาสินสมุทรเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ (ยาวประมาณ 10-40 เซนติเมตร) มีสีสันสวยงาม ลักษณะของปลาสินสมุทรอีกอย่างคือเป็นปลาประจำถิ่น มีขอบเขตที่อยู่แน่นอน แต่ละชนิดมีอาณาเขตไม่เท่ากัน ยามเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในเขตแดน ปลาสินสมุทรมักว่ายเข้ามาดู (สุรินทร์ มัจฉาชีพ,2518)
bottom of page